วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยม 12 ประการ ค่านิยมหลักของคนไทยคสชให้มา

เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มี ค่านิยม 12 ประการ

การสร้างค่านิยมหลักของคนไทยตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติให้มี ค่านิยม 12 ประการ"สพฐ.รับลูก คสช.สร้างค่านิยมคนไทยใหม่"ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า...ที่ประชุมได้หารือถึงการสร้างค่านิยมหลักของคนไทยตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง

โดยต้องสร้างคนในชาติ
ให้มี ค่านิยม 12 ประการ ได้แก่

  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
  8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์
    ของตนเอง
ซึ่ง สพฐ.จะนำหลักการดังกล่าวมาขยายผล โดยได้เตรียม
เผยแพร่เรื่องดังกล่าวไปสู่สถานศึกษาด้วยการบรรจุไว้
ในหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง พร้อมกับ
การจัดกิจกรรเสริมสร้างเด็กและเยาวชนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
"สพฐ.ได้มีการวิเคราะห์ ค่านิยม 12 ประการ
พบว่า หลักสูตรของ สพฐ.ก็มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ 8 ข้อ
ประกอบด้วย มีความรักชาติศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย
และมีจิตสาธารณะ โดยทั้งหมดได้บรรจุไว้ในหลักสูตรอยู่แล้ว
ส่วนที่ คสช.กำหนด ค่านิยม 12 ประการ ก็ถือว่าครอบคลุม
คุณลักษณะของ สพฐ.แล้ว และการผลักดันเรื่องนี้ก็คงไม่ใช่แค่
ภาคการศึกษาเพียงฝ่ายเดียว แต่สังคมทุกภาคส่วนต้องร่วมกันทำ
โดยเฉพาะการเริ่มต้นจากครอบครัวที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้แก่เด็กและยาวชน" 

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คืออะไร


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

          แต่เดิมนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ยังเป็นเพียงกรอบความตกลงทางการค้า จากเวทีการเจรจาของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นเพียงความร่วมมือทางการค้า เพื่อชะลอการเปิดเสรีฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป พยายามจะรุกเข้ามาในตลาดของภูมิภาคนี้ การรวมกลุ่มกันเพื่อความเข้มแข็งจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ของอาเซียน มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลายระดับ จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็นมากกว่าเรื่องทางการค้า หรือเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังวางรากฐานที่จะเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในมิติทางสังคม การเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และกระบวนการต่างๆ ก็เดินหน้าไปทุกขณะ แม้จะไม่เร่งรีบ แต่ก็มียุทธศาสตร์และ Road map วางไว้อย่างชัดเจน จนถึงปัจจุบันนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้นๆ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะต้องปรับตัวอย่างเหมาะสม และคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่ข้อมูลจากส่วนราชการเท่านั้น แต่ยังต้องแสวงหาโอกาส ความร่วมมือกันของกลุ่มองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอีกด้วย

ความเป็นมาพอสังเขป (ข้อมูลจากทางกระทรวงพาณิชย์)

          ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ได้ให้การรับรองและลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก 3 เสาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีก 2 เสาหลัก คือเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Pillar) และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Pillar)

          โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ยังเห็นชอบให้มีการรวมตัวเป็น AEC ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมือโดยเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในแต่ละสาขา ได้แก่

  1. ไทย : การท่องเที่ยวและการบิน
  2. พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
  3. อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
  4. มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
  5. ฟิลิปปินส์ : อิเล็กทรอนิกส์
  6. สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการบริการด้านสุขภาพ

          ในส่วนของไทยนั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ให้เร็วขึ้นภายในปี ค.ศ. 2012 และเสนอว่าในการเร่งรัดการรวมตัวอาเซียนน่าจะใช้หลักการ Two Plus โดย 2-3 ประเทศที่พร้อมสามารถที่จะเปิดเสรีในภาคที่ตนมีความพร้อมไปก่อน และประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมเมื่อมีความพร้อมแล้ว ซึ่งในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ ได้กล่าวสนับสนุนข้อเสนอของไทยที่ให้เลื่อนระยะเวลาในการบรรลุประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เร็วขึ้น โดยเห็นว่าน่าจะเป็นปี ค.ศ. 2015

          ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็วขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โลจิสติกส์ คืออะไร

จากกระบวนการผลิตที่ต้นน้ำ ไปสู่การเคลื่อนย้ายสินค้า วัตถุดิบ หรือวัสดุำจำเป็นต่างๆ ตลอดจนการบริการที่เกี่ยวเนื่องในระบบโลจิสติกส์(Logistics) จนไปถึงปลายน้ำตามที่เข้าใจกันง่ายๆ นั้น ข้อเท็จจริงแล้วก็อาจจะไม่ง่ายนัก หากขาดความรู้ ความเข้าใจ และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

โลจิสติกส์ คือ กระบวนการผลิตจากต้นน้ำ การเคลื่อนย้ายสินค้า หรือวัตถุดิบ ไปยังสถานที่จัดเก็บสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง และบริการที่เกี่ยวเนื่องในระบบอันได้แก่ การบรรจุภัณฑ์ การแบ่งบรรจุ ตลอดจนการกระจายสินค้า จนไปถึงผู้บริโภคที่ปลายน้ำ ดังที่เข้าใจกันง่ายๆ นั้น บางครั้งก็อาจจะไม่ง่ายดายนัก ต่างจากที่หลายคนคิดเอาไว้ เพราะหากขาดความรู้ ความเข้าใจ และการบริหารจัดการที่ดี เป็นระบบแล้ว กระบวนโลจิสติกส์ ก็มิอาจจะเกิดประสิทธิภาพขึ้นได้ เป็นเหตุให้สูญเสียทั้งเวลาและต้นทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งหากจะแยกองค์ประกอบของกระบวนงานด้านโลจิสติกส์ ก็อาจจะแบ่งออกได้ ดังนี้
  • โลจิสติกส์ภาคการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้า
  • โลจิสติกส์ภาคการจัดเก็บและกระจายสินค้า
  • โลจิสติกส์ภาคการค้าระหว่างประเทศ
           การขนส่งและการเคลื่อนย้ายสินค้า ถูกจัดความสำคัญไว้เป็นลำดับต้นๆ ที่ช่วยสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งยังมีบทบาทเป็นดรรชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น การขนส่ง จึงมิใช่เรื่องของการพัฒนายานพาหนะ หรือการแข่งขันทางด้านยนตกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึง ระบบกระบวนวิธีการ ที่เรียกว่า ระบบการขนส่ง หรือกระบวนการบริหารจัดการทางด้านการขนส่งอย่างเป็นระบบ อาทิเช่น ในแง่การขนส่งบุคคล ก็จำเป็นต้องมี ระบบขนส่งมวลชน ที่มีประสิทธิภาพ ในแง่การขนส่งสินค้า ก็ยิ่งต้องใช้วิธีการทางโลจิสติกส์เข้ามาบูรณาการอย่างเป็นระบบ
          กระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้านั้น บางคนอาจสรุปง่ายๆ ว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับการขนส่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว ก็อาจเ็ป็นคนละขั้นตอนกระบวนการกัน หรืออาจจะเป็นเรื่องเดียวกันอย่างที่เข้าใจก็ได้ เพราะโดยมากการเคลื่อนย้ายสินค้าย่อมต้องอาศัยขั้นตอนการสำเลียง และขนส่ง ซึ่งมักจะต้องมียานพาหนะเข้ามาร่วมในกระบวนการ แต่การเคลื่อนย้ายสินค้านั้น อาจหมายรวมถึงการจัดเก็บ หรือ inventory system ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบระเบียบในการจัดเก็บ และการค้นหา ที่พร้อม และสามารถจะรองรับการบริหารจัดการโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          การจัดเก็บและการกระจายสินค้า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปไปยังสถานที่ปลายทางที่ต้องการ ในเวลาที่ระบุ โดยที่สินค้านั้นจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ การกระจายสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรธุรกิจหรือหน่วยการผลิตกับลูกค้านั่นเอง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการให้บริการ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ยิ่งในปัจจุบันสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์นั้นการแข่งขันทางการค้าของทุกประเทศมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มทวีปเอเชีย ทำให้ระบบของการกระจายสินค้ามีความชัดเจน และเป็นมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผลดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะได้สินค้าตรงตามความต้องการในเวลาที่ระบุ ขจัดข้อผิดพลาด และก่อให้เกิดความพึงพอใจในทุกฝ่ายนั่นเอง
          การค้าระหว่างประเทศ การส่งออก-นำเข้าสินค้า เปรียบเสมือนลมหายใจของประเทศ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเปิดเส้นทางการค้า และกฎหมายการค้าเสรี ส่งผลทำให้กลุ่มประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ สามารถนำสินค้า วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนของใช้ที่จำเป็น เข้ามาทำการค้าขายกันได้อย่างเปิดเผย
          สำหรับประเทศไทยด้านโลจิสติกส์ ผู้ออกกฎหมายได้มีการพัฒนาทั้งรูปแบบ และระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า การส่งออก-นำเข้าในประเทศไทยเอง จะเริ่มเอาจริงเอาจังกันได้เมื่อไม่นานมานี้ หากเทียบกับการค้าแถบอ่าวเปอร์เซีย การค้าสำเภาจีน หรือแถบคาบสมุทรอินเดีย ที่เรียกได้ว่าเป็นยุครุ่งเรือง และในปัจจุบัน อย่างระบบการค้าสมัยใหม่ของยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่ทุกประเทศยกให้เป็นกรณีศึกษาที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากอีกด้วย